TKP HEADLINE

(ตัวอย่าง)รู้หรือไม่ว่า ที่เรียกว่า 3G หรือ 4G หมายความถึงอะไร


ในสังคมทุกวันนี้เราอยู่ท่ามกลางโลกของการติดต่อสื่อสาร โลกของข้อมูล ชั่วเวลาเศษเสี้ยววินาที ใครเข้าถึงข้อมูล หรือเชื่อต่อสื่อสารได้ก่อน อาจหมายถึงการนำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจ แม้ว่าการเชื่อมโยง การติดต่อสื่อสารในทุกวันนี้จะถือว่าค่อนข้างดี มีความรวดเร็ว อาจจะมีบ้างเรื่องความนิ่งของสัญญาณ ความเสถียรภาพของการเชื่อมโยง แต่ก็ถือว่าได้ก้าวข้ามจากยุค Analog ไปสู่ Digital สมบูรณ์แบบ


คราวนี้มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า G ไม่ว่า จะเป็น 2G, 3G หรือ 4G คำว่า G ไม่ใช่คำว่า Generation แต่มาจากคำเต็มๆว่า Generation wireless หรือยุคของการสื่อสารไร้สาย (ไม่ว่าจะโดยใช้สัญญาณวิทยุหรือการเข้ารหัสอื่นๆ) โดยอนุมานว่าในแต่ละ Generation ของการสื่อสารไร้สายจะเป็นช่วงเวลาช่วงละ 10 ปี ซึ่งการก้าวข้ามในแต่ละยุคจะมีการพัฒนาย่อยๆ เพิ่มขีดความสามารถในแต่ละ generation ด้วย



เราอาจจะไม่รู้ว่า 4G ได้ให้อะไรในภาพรวมบ้าง แต่ สิ่งที่แน่ก็คือ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการใช้งานที่ถูกลง ในทุกๆด้าน ส่งผลให้เกิดประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา การใช้ชีวิตในยุคข่าวสารข้อมูล ก้าวข้ามขีดจำกัดในการติดต่อสื่อสารทั่วทุกมุมโลก การพัฒนาชีวิตในสังคมดิจิตอล และอีกไม่นาน เทคโนโลยี 5G ก็จะก้าวเข้ามา สิ่งที่ถูกปรับเปลี่ยนในวันนี้ จะถูกแทนที่ด้วยปริมาณ ความเร็ว ความคงที่ รวมถึง Device ที่จะปฏิวัติโฉมใหม่ไร้กฏเกณฑ์ที่เคยใช้ในวันนี้ลง ซึ่งคงจะได้เห็นกันในปี 2563




ศึกษาเพิ่มเติม :
https://www.techopedia.com/definition/2920/forth-generation-wireless-4g
https://www.orange.com/en/news/2015/mars/5G-towards-the-mobile-Internet-of-the-future



(ตัวอย่าง)รู้หรือไม่ว่า การเลือกสินค้าจากร้านประมูลออนไลน์ ได้หรือเสีย คุ้มหรือไม่คุ้ม

ปัจจุบันโลกของการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องที่ง่าย เทคโนโลยีด้านเครือข่ายอาจจะไม่ใช่เรื่องไกลตัว ยิ่งผู้ใช้งานมือใหม่ ต้องระวังตัวมากยิ่งขึ้น ในโลกออนไลน์ มีทั้งเว็บขายของ ที่น่าเชื่อถือ อาทิ ลาซาด้า หรือ ตลาดดอทคอม หรือ ShopAt24.com หรือ ขายดี  หรือ CMART  เป็นต้น

LAZADA.com





ShopAt24.com เครือ CP


Kaidee.com




CMART เครือ BIG C

นอกจากจะมีร้านค้าออนไลน์ มากมาย ทั้งที่เป็นร้านค้าขนาดใหญ่ ร้านค้าเล็กๆ ที่สร้างร้านขายของ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเครื่องสำอางค์ กระเป๋าสตรี เสื้อผ้า อุปกรณ์อิเล้กทรอนิกส์ VCD/DVD สินค้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และอื่นๆอีกมาก ซึ่งถือเป็นเรื่องดี ของวงการ e-commerce เมืองไทย แต่ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็ เกิดเว็บนำสินค้ามานำเสนอ ในวิธีการ ประมูล ส่วนใหญ่เริ่มราคาที่ 1 บาท โดยปัจจุบัน การประมูลสินค้าออนไลน์ที่กำลังนิยมและเป็นกระแส ทั้งแง่ลบ และแง่เกือบบวก โดยหลายๆคนที่เข้าไปประสบวิถีชีวิต เรื่องราว  อาจจะมีบ้างที่สมหวังเล็กๆ ปัญหาเรื่องของที่ประมูล ส่วนใหญ่สินค้า จะเป็นสินค้าเกรดต่ำจากประเทศจีน (ย้ำว่าเกรดต่ำ เพราะประเทศจีน เป็นประเทศที่มีโรงงานผลิตสินค้าได้หลากหลายเกรด สินค้าระดับพรีเมี่ยมในตลาดประเทศเราหรือหลายๆประเทศ แบรนด์ดังๆก็ทำในจีนมากต่อมาก ไม่เชื่อลองดูไม่ว่าจะเป็น Notebook, Smartphone นาฬิกา, โทรทัศน์, เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆอีกมากมาย ) แม้ว่าเว็บประมูล จะลงภาพประกอบพร้อมคำสำคัญ คำอธิบาย แต่เชื่อเถอะว่า ไม่ละเอียดมากนัก


เรามาดูว่าในบ้านเรามีเว็บประมูลแบบไหนบ้าง

แบบแรก ประมูล สินค้า แข่งราคากัน 1 หรือ 2 หรือ 5 หรือ คิดเป็นเปอร์เซนต์ โดยมีช่วงเวลาที่กำหนดไว้ ผู้เข้าประมูลต้องแสดงตนเป็นสมาชิก โดยการกรอกรายละเอียด หรือผ่านทาง facebook เว็บจำพวกนี้ส่วนใหญ่สินค้าจะมีคุณภาพต่ำ
แต่ถ้าเป็นเว็บสินค้าแบรนด์ สินค้านำเข้า อาทิ จากญี่ปุ่น ก็ จะมีเว็บ ที่จดทะเบียนขออนุญาตจากทางการไทย ใครสนใจก็ลองค้นหาดู

แบบที่สองจะคล้ายกับเว็บแรก แต่สินค้าจะมีทั้งสินค้าเลียนแบบและสินค้าจริงที่มีขายกันในท้องตลาด (ทั้งของจริง และของเสมือนจริง) การประมูลเป็นลักษณะเหมือนแบบแรก การเป็นสมาชิกก็จะเหมือนกัน แต่ภาพรวมของสินค้า ค่อนข้างจะดีกว่า


แบบที่สามเป็นเว็บประมูลแบบลงเครดิตหรือที่เรียกกันว่า บิด (BID) ผู้เข้าประมูลต้องเสียเงินซื้อบิด (ผ่านระบบธนาคาร เครดิตการ์ด,  Paysbuy, PayPal, เคานท์เตอร์เซอร์วิส 7-Eleven, เทสโก้ โลตัส และอีกหลายช่องทาง ที่เว็บนั้นๆออกแบบ) เพื่อนำบิดดังกล่างไปวางแข่งประมูล ในสินค้าแต่ละตัวแต่ละชิ้น จะมีผู้สมหวังเพียง หนึ่งคน (ย้ำอีกทีว่า เพียง 1 คน)  แต่ อีกหลายคนต้องโยนเงินของตนเข้าไปในกระดานเว็บ หายสาบสูญฟรีๆ จำนวนหลายสิบคน ต่อ หนึ่งรายการสินค้า (บางเว็บอาจจะมีเทคนิคจูงใจแปรเปลี่ยนบิดเป็นแต้มสะสม)  สินค้าโดนส่วนใหญ่ค่อนข้างดี

ผู้เขียนได้เข้าไปเฝ้าติดตาม รวมถึงทดสอบกระบวนการดังกล่าวมาหลายเว็บ รวมถึงติดตามสอบถามผู้ประมูล ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบชะตากรรม พอสรุปได้ ดังนี้

1.ได้ของที่ไม่มีคุณภาพ ของชำรุด  เช่น
   ช้อนสะเตนเลส สุดแสนจะบาง ทั้งๆที่โฆษณาว่า ผลิตจากสแตนเลสเนื้อดี น้ำหนักเบา ด้ามจับถนัดมือ จริงเรื่องเดียวคือ น้ำหนักเบา มีสิทธิ บาดปากได้
   
   เมาส์ไร้สาย ที่คุณภาพต่ำ ความไว ความแม่นยำในการใช้งานต่ำ (สงสัยว่า คนในบริษัทเหล่านี้ใช้เมาส์ของบริษัทตัวเองไหมนะ)

   ที่สูบลมจักรยาน หน้าปัดชำรุด หลุดกระจาย

เป็นต้น

2.ได้ของไม่ตรงกับภาพ ของจริงกับรายละเอียดที่แสดงไว้แตกต่างกัน

3.ราคาที่ได้ อาจจะไม่ถูกจริง เพราะต้องแข่งกับคนของเว็บ กับ Bot  ที่เป็นระบบอัตโนมัติ

4.ประมูลไม่ได้ ต้องเสียเงินฟรี (ในรูปของ Bid) และต้องปล่อยให้สูญเงินไป โดยวิธีการนี้ ต้องมีเวลา มีจำนวนบิดในมือค่อนข้างมากในการตาม ต้องรู้จักเลือกสินค้า ซึ่งมีเว็บหลายแห่งที่ ไม่ค่อยเอาเปรียบลูกค้านัก เพราะเว็บแบบนี้ จะได้กำไรสูงอยู่แล้ว เพราะเมื่อมีผู้แข่งมากขึ้น ผู้ได้ จะได้เพียงรายเดียว แต่คนอื่นที่ร่วมวงแข่ง คือผู้เสียบิด

5.สินค้าชำรุดการเคลมสินค้ายาก การเคลมเพื่อเปลี่ยนใหม่มีขั้นตอนกระบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยากหรือทำได้ยากและช้ากว่าตอนซื้อหลายเท่า

.............................................................................................................................................
ดังนั้นผู้ที่จะเข้าไปลองประมูลลองศึกษาจาก search Google  ดูนะครับ  หรือ จะหาอ่านประสบการณ์ของผู้ใช้งานเว็บประมูลสินค้า ก็ได้
 .............................................................................................................................................
สำนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์  ได้ระบุแจกแจงแบ่งประเภท ธุรกิจ e-Commerce โดยแบ่งตามรูปแบบการค้าไว้ 5 ประเภทดังต่อไปนี้


        1) รูปแบบรายการสินค้าออนไลน์ (Online Catalogue)
     เป็นร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตเพื่อแสดงรายการสินค้าอย่างเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาพพจน์บริษัทและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเบื้องต้นแก่กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ค้าส่ง การสั่งซื้อมักกระทำผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือโทรสาร เพราะร้านค้ามักไม่ระบุราคาในเว็บไซต์ แต่ต้องการเจรจาต่อรองกับลูกค้า เมื่อตกลงซื้อขายแล้วการชำระเงินมักอยู่ในรูปแบบการค้าดั้งเดิมคือ โอนเงินทางธนาคาร หรือเปิด L/C ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้ได้แก่ www.toyota.co.th เป็นต้น



        2) ร้านค้าปลีก (e-Tailer)
     แบบจำลองธุรกิจประเภทนี้ มีลักษณะที่ร้านค้าบนอินเตอร์เน็ตเสนอขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง โดยระบุราคาสินค้าและค่าขนส่งอย่างชัดเจน การรับคำสั่งซื้อกระทำโดยระบบอัตโนมัติผ่านเว็บไซต์ และนิยมรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ซื้อ ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้ได้แก่ www.amazon.com เป็นต้น



        3) การประมูลสินค้า (Auction)
     ร้านค้าอาจไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ แต่อาศัยผู้ให้บริการเว็บไซต์ประมูลสินค้าที่มีอยู่แล้วเป็นสื่อในการค้า โดยยินดีเสียค่าบริการส่วนหนึ่งแก่ผู้ให้บริการเว็บไซต์ ลักษณะการประมูลเป็นได้ทั้ง 2 ทาง คือผู้ขายเสนอขายก่อนแล้วให้ผู้ซื้อแข่งกันเสนอราคาซื้อภายในเวลาที่กำหนด ผู้เสนอราคาสูงสุดจะเป็นผู้ได้รับสิทธิ์ซื้อสินค้า เช่นเดียวกับการประมูลปกติ ตัวอย่างเว็บไซต์ประมูลที่ให้บริการลักษณะนี้ได้แก่ www.ebay.com


และอีกรูปแบบหนึ่งที่ให้ผู้ซื้อเป็นผู้เสนอซื้อก่อนแล้วให้ผู้ขายแข่งขันกันเสนอราคาขายภายในระยะเวลาที่ กำหนด ผู้เสนอราคาขายต่ำสุดจะได้รับสิทธิ์ขายสินค้านั้นกับผู้ซื้อ การประมูลประเภทหลังนี้จะถูกเรียกว่า Reverse Auction หรือ การประมูลแบบย้อนกลับ ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้ได้แก่ https://reverseauctions.gsa.gov/reverseauctions/reverseauctions/นอกจากนี้ กลุ่มผู้ซื้อที่เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และมีปริมาณการสั่งซื้อมาก เช่นบริษัทเยเนอรัลมอเตอร์ หรือ อีจี อาจสร้างเว็บไซต์เพื่อทำการจัดซื้อ โดยให้ผู้ขายแข่งขันกันเสนอราคาขาย อาจเรียกรูปแบบนี้ว่า ระบบจัดซื้ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Procurement ก็ได้

        4) ประกาศซื้อขายสินค้า (Web Board/e-Classified)
     เป็นรูปแบบเว็บไซต์ ประเภทชุมชนเป็นที่นิยมใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เช่น www.pantipmarket.com หรือ www.sanook.com เป็นต้น


จึงมักจัดให้มีกระดานข่าว (Webboard) เฉพาะ สำหรับการซื้อขายสินค้าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย คล้ายกับลักษณะการโฆษณาย่อยในหนังสือพิมพ์ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ต้องการขายมักจะเป็นผู้ลงประกาศข้อความนั้น และให้เบอร์โทรศัพท์ หรือ e-mail เพื่อผู้ซื้อติดต่อ เนื่องจากการค้าส่วนใหญ่อยู่ภายในประเทศ เมื่อตกลงกันเรียบร้อยแล้ว ผู้ขายจะนัดส่งมอบสินค้าแก่ผู้ซืั้อ และพร้อมรับชำระเงินทันที

        5) ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketplace)
     การสร้างเว็บไซต์ ของบริษัทเองนั้นแม้จะมีค่าใช้จ่ายในการสร้างไม่สูงมากนัก แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายทางการตลาดสูงเพื่อดึงให้ลูกค้าที่สนใจเข้ามาที่เว็บไซต์ ในขณะที่เว็บไซต์ชุมชนที่ผู้ขายสามารถลงประกาศขายสินค้าได้แม้จะมีผู้เข้าชมมาก แต่ลักษณะของผู้เข้าชมมีความหลากหลายทำให้โอกาสที่จะพบผู้สนใจซื้อสินค้ามีต่ำ จึงเกิดการตั้งเว็บไซต์ ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นสินค้า เฉพาะเรื่อง กับตลาดกลางอิเลกทรอนิกส์ที่เป็นสินค้าทั่วไป ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นสินค้าเฉพาะเรื่อง จัดตั้งขึ้่นมาเพื่อซื้อขายสินค้าเฉพาะเรื่อง เช่น


 เว็บไซต์ www.one2car.com ก็เป็นตัวอย่างของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการซื้อขายรถยนต์มือสอง ในประเทศไทย โดยผู้ขายต้องสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์นี้ก่อนใช้บริการหรือตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นสินค้าทั่วไป

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่
สำนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
44/100 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 ประเทศไทย
 โทร. 0-2547-5959-60 โทรสาร. 0-2547-5973 สายด่วน 1570

ข้อมูลอ้างอิง
http://www.dbdmart.com/learning/default/lesson/id/15

(ตัวอย่าง)รู้หรือไม่ว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 ประกาศใช้แล้ว

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2560 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้เผยแพร่ได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 ที่ปรากฏใน ราชกิจจานุเบกษา หน้า 24 เล่ม 134 ตอนที่ 10 ก



โดยกฏหมายฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับอีก 120 วันถัดจากวันที่ประกาศใช้ ซึ่งใจความสำคัญหลักยังคงใช้  พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เป็นฐาน ส่วนสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560  หรือฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มีหลายส่วนที่มีการปรับเปลี่ยน หรือเพิ่มเติม อาทิ

- เพิ่มเติมความผิดของการส่งสแปมเมล์ โดยกำหนดโทษปรับ 200,000 บาท (มาตรา 11)

- แก้ไขให้ไม่สามารถนำไปฟ้องฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาได้ (มาตรา 14(1))

- แก้ไขให้ยกเว้นความผิดสำหรับผู้ให้บริการได้หากยอมลบข้อมูลที่ผิดกฎหมาย (มาตรา 15)

- เพิ่มเติมให้ผู้ใดที่มีข้อมูลซึ่งศาลสั่งให้ทำลายอยู่ในครอบครองจะต้องทำลายไม่เช่นนั้นจะได้รับโทษด้วย (มาตรา 16/2)

- เพิ่มเติมให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ ขึ้นมาพิจารณาว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดที่จะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สามารถส่งฟ้องศาลเพื่อระงับหรือลบข้อมูลดังกล่าวได้ (มาตรา 20) ฯลฯ


สำหรับผู้ใช้งาน การเข้าถึงข้อมูล หรือการทำงานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็คงไม่ได้ผิดแผกแตกต่างมากนัก แต่สำหรับผู้ที่ชอบโพสต์ ชอบเผยแพร่ ชอบวิจารณ์ ชอบขุดคุ้ย ชอบไลค์ (แม้ในหมู่เพื่อนฝูง) ต้องควรระวัง เพราะกฏหมายฉบับแก้ไขเพิ่มเติมนี้ ถือเป็นกฏหมายที่แรงมาก

ดังนั้นหากท่าน จะสำเนาข้อมูลจากที่ใดไปเผยแพร่ ไปแชร์ หรือโพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นใดๆ ก่อนทำการโพสต์ ให้อ่านอย่างมีสติก่อนว่า ได้ไปละเมิดสิทธิ ไปให้ร้ายหน่วยงาน กลุ่มคน ชุมชน หรือบุคคลใดๆ เพราะเมื่อโพสต์หรือแชร์ไปแล้ว ข้อความหรือข้อมูลนั้น จะแพร่กระจายไร้ความควบคุมทันที แม้ว่าท่านอาจจะกลับมาลบข้อมูลต้นทางแต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการเผยแพร่บนเครือข่ายที่ท่านใช้ได้


อ้างอิง : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/010/24.PDF

(ตัวอย่าง)รู้หรือไม่ว่า อินเทอร์เน็ตมีภัยร้ายหลายประเภทที่สามารถคุกคามและบุกรุกโจมตีท่านได้


การใช้งานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนั้น มีภัยคุกคามความต่างๆ มากมายหลายอย่าง ซึ่งมีความร้ายแรง ระดับ สร้างความรำคาญ จนถึงทำให้เครื่องใช้งานไม่ได้ และในกรณีที่ร้ายแรงมากนั้นอาจทำให้ต้องเสียเงินทองได้
ประเภทของภัยบุกรุก ได้แก่


  • Hacker
    Hacker หมายถึงคนหรือกลุ่มคนที่พยายามเจาะเข้าไปยังระบบคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยทักษะ ทางคอมพิวเตอร์ และข้อบกพร่องของระบบที่เป้าหมายอยู่ วัตถุประสงค์หลักของ Hacker คือผ่านระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่ง Hacker ที่มีประสบการณ์สูงและเครื่องมีที่เหมาะสม สามารถที่จะเล็ดลอด ผ่านระบบการป้องกัน ด้านความปลอดภัยต่างๆ เช่น Firewall หรือ IDS/IPS ได้โดยไม่อยากลำบากนัก
  • Allowed Service
    เนื่องจากในแง่การทำงานของระบบการป้องด้านความปลอดภัยต่างๆ เช่น Firewall หรือ IDS/IPS นั้นเมื่อทำการอนุญาตให้ service ไปแล้วอุปกรณืเหล่านั้นจะไม่เข้าทำการตรวจสอบหรือทำการควบคุม service เหล่านั้นอีก นั้น หากการโฉมตีใช้ service ที่ได้รับการอนุญาต อุปกรณ์ระบบป้องกัน ด้านความปลอดภัยก็จะยอมให้การโมตีนั้นทำงานได้
  • Application Vulnerability
    ระบบการป้องด้านความปลอดภัยต่างๆ เช่น Firewall หรือ IDS/IPS นั้น ไม่สามารถควบคุม การโฉมตีหรือการบุกรุกระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้ช่องโหว่ของแอพพลิเคชัน หรือ Application Vulnerability ได้ ประเภทของภัยบุกรุก OS Vulnerability ช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ หรือ OS Vulnerability นั้น เป็นไปในลักษณะเช่นเดียวกันกับ Application Vulnerability คือ ระบบการป้องกัน ด้านความปลอดภัยต่างๆ เช่น Firewall หรือ IDS/IPS ไม่สามารถควบคุม การโฉมตี หรือการบุกรุก ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้ช่องทางเหล่านี้ได้ (ในผลิตภัณฑ์บางยี่ห้อ อาจสามารถ ทำได้แต่ต้อง ทำการอัพเดทซิกเนเจอร์หรืออัพเดทเฟิร์ทแวร์ก่อน เป็นต้น วิธีการปองกัน OS Vulnerability ที่ดีที่สุดคือการอัพเดทระบบอย่างสม่ำเสมอ)
     

  • Virus & Malware Computer ไวรัสและมัลแวร์เป็นภัยที่คุกคามระบบคอมพิวเตอร์มาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน และนับวันยิ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซับซ้อนขึ้น ในปัจจุบันสำหรับผูที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโวส์นั้น นอกจากโปรแกรมป้องกันไวรัสแล้ว ยังต้องติดตั้ง โปรแกรมป้องกันสปายแวร์ โปรแกรมป้องกันไวรัสสแปมเมล์ โปรแกรมไฟร์วอลล์ ฯลฯ ถ้าหากต้องการ ความปลอดภัยในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
  • การดักอ่านข้อมูลโดย Sniffer
    ระบบการป้องด้านความปลอดภัยต่างๆ เช่น Firewall หรือ IDS/IPS นั้นไม่สามารถป้องกัน การดักอ่าน ข้อมูลโดย Sniffer ได้เนื่องจากการดังอ่านข้อมูลนั้นไม่ได้มีการติดต่อใดที่เกี่ยวข้องกับ Firewall เลย ประเภทของภัยบุกรุก Spam Mail Spam Mail หรือเมล์ขยะ มีวัตถุประสงค์หลัก ในการโฆษณาสินค้า หรือบริการ ซึ่งนอกจากสร้างความรำคาญแล้วบางครั้งยังทำให้เครื่องติดไวรัสหรือมัลแวร์ได้เช่นกัน และสำหรับการใช้งานในองค์กรทางธุรกิจนั้น กาจทำให้สูญเสียโอกาสทางธุรกิจได้ถ้าหากมี Spam Mail มากจนไม่สามารถรับ-ส่ง mail ปกติได้ หรือในกรณ๊ที่ร้ายแรงจริงอาจทำให้ mail server ล่มก็ได้
 
  • Administration Mistake
    ความผิดพลาดที่ร้ายแรงที่สุดในระบบเครือข่าย คือ Administration Mistake หรือความผิดพลาด ที่เกิดจากผู้ปริหารระบบเอง ซึ่งอาจเกิดจากความอ่อนประสบประการณ์ ความไม่รู้ ความขี้เกียจ ประมาทเลินเล่อ หรือ หลงลืม เป็นต้น ตัวอย่าง เช่น การกำหนดสิทธิ์ในการใช้งานผิดพลาดทำให้ผู้ใช้สามารถทำการ upload ได้โดยไม่ต้องล็อกอิน หรือการติดตั้งโปรแกรม remote control แต่ทำการตั้งรหัสผ่านง่ายๆ เนื่องจาก ขี้เกียจพิมพ์ หรือไม่มีการควบคุมการใช้งานอย่างเพียงพอ หรือไม่เคยทำการ อัพเดทหรือติดตั้ง เซอร์วิสแพ็ค ของเซิร์ฟเวอร์เลย เป็นต้น

  • ภัยคุกคามอื่นๆ ภัยคุกคามอื่นๆนั้น ได้แก่อันตรายที่เกิดจากภายในเครือข่ายเอง ซึ่งต่อให้มีระบบป้องกันที่ดีเพียงใดก็ไม่อาจช่วยได้ เช่น การให้บริการ Dial-up หรือไม่มีการควบคุมการใช้งานระบบเน็ตเวิร์กโดยอนญาตให้ใครก็ได้ สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ ตัวอย่างเช่น Hacker อาจถือแล็ปทอปเข้ามาใช้ ระบบเน็ตเวิร์ก โดยการต่อสายแลน หรือไวร์เลส ได้ทันที่โดยไม่ต้องลงทะเบียน เป็นต้น

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชน สถาบัน กศน.ภาคใต้. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand